Monday, February 4, 2013

ทานตะวัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Helianthus annuus

ทานตะวัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Helianthus annuus



ชื่อวงศ์
COMPOSITAE

ชื่อสามัญ
Common Sunflower

ชื่ออื่นๆ ทานตะวัน ถิ่นกำเนิด อเมริกาตะวันตก

การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด

ประวัติและข้อมูลทั่วไป
ทานตะวันเป็นดอกไม้สีเหลือง ดอกใหญ่กว่าดอกรักเร่เป็นที่สะดุดตามากบางทีดอกจะใหญ่กว่าลำต้นเสียด้วยซ้ำ แทบจะไม่สมดุลย์กันเลย นิยมปลูกเป็นแปลง เป็นไม้ที่ปลูกง่ายและโตเร็ว เมื่อออกดอกแล้วดอกจะหันไปทางทิศตะวันออก เป็นการทานตะวัน ไม่หันไปทางทิศอื่น จึงได้ชื่อว่า ดอกทานตะวัน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ทานตะวันลักษณะของลำต้นจะตรง สูงประมาณ 3-4 ฟุต แต่ถ้าปลูกในถิ่นที่มีอากาศเย็นอาจสูงได้ถึง 6 ฟุต ใบจะออกสลับกัน ลักษณะของใบกลมรีกว้างประมาณ 4-8 นิ้ว ยาว 1 ฟุต ขอบใบเป็นรอยจักฟันเลื่อย ปลายใบแหลม ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกบานเต็มที่โตประมาณ 5-10 นิ้ว มีสีเหลืองสด ตรงกลางดอกมีเกสรเป็นวงเกือบเท่าตัวดอก กลีบดอกบานแผ่เป็นวงกลมทำให้เกสรดอกเด่นชัดขึ้น

การปลูกและดูแลรักษา
ทานตะวันเป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ต้องการน้ำปานกลาง

ทุ่งทานตะวัน

บริเวณเขตติดต่อระหว่างจังหวัดลพบุรี และสระบุรี ตามเส้นทางสายพัฒนานิคม-วังม่วง มีการทำไร่ทานตะวันกันมาก รวมทั้งในอีกหลายอำเภอของสระบุรี เช่น อำเภอพระพุทธบาท เฉลิมพระเกียรติ แก่งคอย หนองโดน และมวกเหล็ก แต่ที่อำเภอวังม่วงจะมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด ในช่วงฤดูหนาวราวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ริมฝั่งถนนจะสะพรั่งไปด้วยสีเหลืองของดอกทานตะวัน เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้ผ่านมาบริเวณนี้เป็นอย่างมาก สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เกษตรอำเภอวังม่วง โทร. 0 3635 9021
ทานตะวันเป็นพืชตระกูลถั่ว ประเภทเดียวกับเบญจมาศ คำฝอย ดาวเรือง บัวตอง ซึ่งเป็นพืชล้มลุกชอบแสงแดดจัด ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ต้องการน้ำน้อย และเป็นพืชอายุสั้น นิยมปลูกหลังฤดูฝนประมาณเดือนกันยายนเป็นต้นไป จึงเหมาะแก่การปลูกทดแทนข้าวนาปรังหรือพืชชนิดอื่นๆ ทานตะวันเป็นพืชเศรษฐกิจที่นอกจากจะได้ประโยชน์จากการเก็บเกี่ยวแล้ว ยังนำมาซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยว เพราะเมื่อดอกทานตะวันบานนับพันนับหมื่นไร่ กลายเป็นท้องทุ่งดอกไม้สีทองอร่ามที่งดงามกว้างไกลสุดสายตา สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวนับแสนคนจากทั่วประเทศให้เดินทางมาเที่ยวชมและ ถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึก

เกษตรกรจะทำการเพาะปลูกหรือหว่านเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายนเป็นต้นไป ดอกทานตะวันจะบานและให้เมล็ดเมื่ออายุครบ 55-60 วัน และจะบานสวยงามเต็มที่ประมาณ 15 วัน หลังจากนั้นเกษตรกรจะปล่อยให้เมล็ดทานตะวันแห้งคาต้น แล้วจึงเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต
เมล็ดทานตะวันสามารถให้น้ำมันที่มีคุณภาพในปริมาณสูงถึง 45% ต่อน้ำหนัก และยังมีคุณค่าอาหารอื่นๆ อีกมาก เช่น โปรตีน แป้ง เกลือแร่ โดยไม่มีคอเลสเตอรอล เพราะเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น กรดลิโนเลอิค กรดอาซิโนอิค สูงถึง 60-70 % ซึ่งจะช่วยให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดไม่สูงเกินไป ทำให้ลดปัญหาโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายอีกมาก เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ เค บี 2 อี และ ดี กากเมล็ดพืชที่เหลือจากการสกัดน้ำมัน สามารถนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ น้ำมันทานตะวันนอกจากจะใช้บริโภคในรูปของน้ำมันสลัดและปรุงอาหารแล้ว ยังนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเนยเทียม สบู่ สีน้ำมันขัดเงา ส่วนเมล็ดสามารถนำไปกะเทาะเปลือกและอบโรยเกลือเป็นอาหารขบเคี้ยวที่ให้ ประโยชน์แก่ร่างกายได้อีกด้วย
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทานตะวันมีอยู่หลายอย่าง อาทิ เมล็ดทานตะวันอบแห้ง คุ้กกี้ทานตะวัน ข้าวเกรียบ ข้าวตังทานตะวัน น้ำผึ้งดอกทานตะวัน เกสรผึ้ง นมผึ้ง เป็นต้น
สำหรับการจัดงานทางจังหวัดสระบุรีได้เตรียมความพร้อมที่จะให้ดอกทานตะวันบานสลับหมุนเวียนไปในแต่ละอำเภอ / พื้นที่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปชื่นชมและถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ตลอดจนการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกดอกทานตะวัน การนำเอาผลผลิตจากเมล็ดทานตะวันไปใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค รวมทั้งการเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ เช่น เมล็ดทานตะวันคั่วสด ๆ จากไร่ หรือหาซื้อน้ำผึ้งทานตะวันเป็นของฝาก ซึ่งนอกจากการเที่ยวชมทุ่งทานตะวันแล้ว นักท่องเที่ยวยังสามารถเดินทางไปนมัสการพระพุทธบาท พระพุทธฉาย การเที่ยวชมถ้ำหรือน้ำตก การเยี่ยมชมไร่องุ่น และการจิบไวน์ ลิ้มลองสเต็กเนื้อนุ่ม เป็นต้น
ประวัติดอกทานตะวัน
ประวัติโดยย่อของดอกทานตะวัน ถือกำเนิดโดยการนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น นำมาปลูกที่คลองตะเคียน พระนครศรีอยุธยาในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงประมาณปี พ.ศ. ๒๑๙๙ ตั้งแต่สมัยอยุธยานานมากมาแล้วต่อมาต้นทานตะวันได้มีการปลูกแพร่หลายเป็นไม้ประดับที่นิยมในประเทศไทย ทานตะวัน แปลว่า การทาน กั้น ขวางตะวัน หรือ ต่อต้านกั้นตะวัน หากเราสังเกตดูให้ดีจะเห็นว่าดอกทานตะวันจะหันดอกเข้าหาตะวัน (พระอาทิตย์) เสมอ จนบางคนถึงกับกล่าวว่า น่าที่จะเรียกว่า “ดอกตามตะวัน” จะเหมาะกว่า แต่ในอีกความหมายก็ว่า “ทานตะวัน” คือเป็นเหมือนกับการทนทานกับแสงแดด หรือแสงอาทิตย์ เพราะมันหันหน้าเข้าหาอยู่ตลอดเวลา จึงน่าจะแปลได้ความหมายเป็นอย่างหลังมากกว่า อีกนัยหนึ่งคือ “ไม่ถึงตะวัน” ถึงจะมีความทนทานต่อแสงอันร้อนแรงของพระอาทิตย์ แต่ก็ไม่สามารถไปถึงตะวันได้
ในเรื่องของเทวปกรฌัม ยังได้กล่าวถึงเทพธิดาองค์หนึ่งชื่อไคลที (Clytie) อาศัยอยู่ถ้ำใต้ทะเลลึก มีแต่ทราย หอยและเปลือกหอย โดยอาศัยนอนอยู่ในเปลือกหอยก้นทะเลไม่เคยขึ้นมาบนฝั่ง มีแต่คลื่นสีเขียวอยู่ใต้น้ำทะเล เนื่องจากแสงอาทิตย์ส่องลงไปไม่ถึง นางฟ้าไคลทีเป็นเทพีแห่งน้ำเกิดในน้ำหรืออาจเรียกว่าพรายน้ำก็ว่าได้ อยู่อาศัยอย่างเป็นสุขสงบเรื่อยมาจนเติบโตขึ้นเป็นสาวน้อยอยู่มาจนกระทั่ง วันหนึ่งเกิดมีพายุพัดกระหน่ำเข้ามาอย่างรุนแรง ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยพัดลงไปถึงข้างล่างใต้ทะเลเลย พัดอยู่เพียงพื้นผิวน้ำชั้นบนเท่านั้น แต่คราวนี้ได้เกิดพายุพัดกระหน่ำเป็นคลื่นม้วนตัวลงไปข้างใต้น้ำ แล้วพัดพาเอาสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ข้างใต้นั้นขึ้นมาอยู่ข้างบนแทน ซึ่งไคลทีก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้นที่ต้องขึ้นมาอยู่บนโลกมนุษย์ เมื่อถูกคลื่นทะเลซัดขึ้นมาถึงฝั่งฟื้นคืนสติก็มองเห็นแสงแดด มองเห็นพืชพันธุ์ต้นไม้ต่าง ๆ ที่สวยงาม และที่สวยที่สุดก็คือแสงแห่งตะวันที่สาดส่องลงมาตรงบริเวณเกาะหรือตรงพื้น แผ่นดินนั้น ส่องไปทุก ๆ ที่ที่ไคลทีมอง ไคลทีเพิ่งได้มีโอกาสเห็นแสงอาทิตย์เป็นครั้งแรก ก็เกิดความรักในพระอาทิตย์ขึ้นมา คือรักเทพอพอลโล (Apollo) เพราะเห็นความงามของอพอลโล(Apollo)

1 comment:

  1. ฮอร์โมนอะใรบ้างครับที่มีขายตามท้องตลาด ที่สารมารถเพิ่มติดดอกและช่วยเพิ่มการติดเมล็ด จากเดิมใหมครับ

    ReplyDelete